การศึกษาปฐมวัยในประเทศอังกฤษ
การศึกษาปฐมวัยในประเทศอังกฤษเริ่มการตั้งโรงเรียนเด็ก โดยโรเบิร์ต โอเว็น (Robert Owen) ที่เมืองแลนาร์ค (Lanark) ในปี ค.ศ.1816 โดยโรเบิร์ต โอเว็นได้รับอิทธิพลแนวคิดในการจัดโรงเรียนเด็กเล็กมาจากปรัชญาและผลงานของเฟรอเบล(Frobel) รูสโว (Rousseou) และโอเบอร์ลอน (Oberlin) เขาเน้นวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือทำ สำรวจสิ่งต่างๆ ให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ไม่มีการลงโทษและการสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นอก่เด็ก ในโรงเรียนของโอเว็นนั้นจะไม่มีการสอนมีลักษณะเป็นแบบแผน ไม่มีการใช้ตารางกิจกรรม
 |
https://www.prachachat.net/ |
รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจะควบเกี่ยวอายุของเด็กถึง 7 ขวบ โดยการจะมีรูปแบบ ดังนี้
1. โรงเรียนเด็กเล็ก (Nursery school) เปิดรับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป รับทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงโดยไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าโรงเรียนเด็กเล็ก
2.โรงเรียนสำหรับเด็กแรกวัย (Infont school) เป็นระดับ 1 ในโรงเรียนของประถมศึกษา รับตั้งแต่ เด็กอายุ5-7 ขวบ มีการจัด 2 ลักษณะคือ จัดชั้นเรียนคละอายุและการจัดชั้นเรียนแบ่งตามกลุ่มอายุ
3.(Children's Centers) เป็นสถานบริบาลเด็กตอนกลางวันสำหรับเด็กแรกเกิด-5 ขวบเพื่อสนองความต้องการของมารดาที่ต้องทำงานนอกบ้านของมารดาที่ไม่สามารถุดูแลบุตรได้ด้วยตนเอง
หลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศอังกฤษนั้นจะไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัวเหมือนกันทั่วประเทศเพราะ ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษนั้นเป็นระบบแบบกระจายอำนาจดังนั้นผู้ที่จัดหลักสูตรในโรงเรียนก็คือครูใหญ่และคณะครูในโรงเรียน
หลักสูตรสำหรับเด็กเล็กหรือชั้นเด็กเล็กในประเทศอังกฤษจะเป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดกิจจกรรมการเล่นสำหรับเด็กไม่มีการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราวเด็กจะสนุกสนานกับการฟังนิทาน ดนตรี โครงกลอน และเล่นตามธรรมชาติเด็กๆจะเล่นกันตามใจชอบจะเล่นคนเดียวหรือจะเล่นกับคนอื่นก็ได้จะเล่นในร่มหรือออกไปกลางแจ้งก็แล้วแต่จะเลือกมีกิจกรรมสำหรับฝึกออกกำลังกายโดยใช้เครื่องเล่นสนามต่างๆ
https://youtu.be/iZuU9Q7i3F8
การศึกษาปฐมวัยในประเทศสวีเดน
ประเทศสวีเดนเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปซึ่งให้ความส าคัญกับการศึกษาปฐมวัย โดยมีกฎหมาย
รองรับอย่างมีประสิทธิภาพ มีการตั้งวิทยาลัยครูอนุบาลและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี
การศึกษาปฐมวัยในประเทศสวีเดนเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมภายหลังการเกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 2 สตรีซึ่งแต่เดิมเคยท างานในบ้านเลี้ยงดูลูก มีความจ าเป็นจะต้องออกไปท างานนอกบ้านเพื่อ
ช่วยเหลือเศรษฐกิจในครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กจึงต้องมีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยดูแล ท าให้เกิดบริการ
การอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบต่าง ๆ
หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
การจัดการศึกษาปฐมวัยของสวีเดนนั้นจัดขึ้นเพื่อบริการแก่ครอบครัวที่สมาชิกต้องออกไปท างาน
นอกบ้าน โดยให้การดูแลเอาใจใส่เด็กเป็นอย่างดี มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับบ้านมากกว่าที่จะ
เป็นโรงเรียน
หลักสูตรและการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศสวีเดนมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ อาร์
โนล กีเซล (Arnold Gesell) เพียเจต์ (Jean Piaget) และอีริค อีริคสัน (Erik Erikson) คือครูจะต้อง
เรียนรู้เกี่ยวกับอัตราและขั้นตอนของพัฒนาการของเด็กทั่ว ๆ ไป และจะใช้วิธีการสอนที่มีส่วนคล้ายคลึง
กับโรงเรียนเด็กเล็กของอังกฤษ ที่เรียกว่า วิธีสอนแบบค้นพบด้วยตนเอง (Discovery method)
จุดประสงค์ในการสอนก็เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางกายภาพให้
มากขึ้น
การศึกษาปฐมวัยในประเทศญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่นมีหน่วยงานทำหน้าที่ดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย 2 กระทรวง และ 1 สำนักงาน แต่หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวคิดของการศึกษาปฐมวัยคือกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นเห็นว่า การศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนอนุบาลเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้และการใช้ชีวิตทั้งในระดับโรงเรียนประถมศึกษาและระดับที่สูงขึ้น กระทรวงฯ ได้กำหนดแนวทางการเรียนการสอนแบบกว้าง ๆ โดยไม่ละเอียดเท่ากับระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เนื่องจากการศึกษาระดับปฐมวัยมิใช่การศึกษาภาคบังคับ เช่น
มีการแนะนำให้ใช้การเล่นและกิจกรรมเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน แทนที่จะใช้กระดานและกระดาษ
ลักษณะพิเศษของการศึกษาปฐมวัยของญี่ปุ่นได้ดังนี้
1.การศึกษาปฐมวัยของญี่ปุ่นมีหลายแนวคิดหลายสำนัก มีทั้งที่เน้นการเรียนรู้ทางวิชาการ และเน้นการสร้างเสริมทักษะการใช้ชีวิตในสังคม แต่ละแนวคิดมีวิธีการเรียนการสอนของตนเอง โดยปรับใช้อย่างยืดหยุ่นให้เข้ากับลักษณะและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน
2.การศึกษาปฐมวัยของญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสถานที่เลี้ยงดูเด็ก หรือแบบโรงเรียนเตรียมประถมการดำเนินการของแต่ละรูปแบบมีอิทธิพลและช่วยกระตุ้นโรงเรียนรูปแบบอื่น มีการเลียนแบบรูปแบบที่ดีซึ่งกันและกัน แต่ก็มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมนำรูปแบบที่ดีของโรงเรียนอื่นมาใช้
การศึกษาปฐมวัยในประเทศสิงคโปร์
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2563) ได้กล่าวถึงประวัติการจัดการศึกษาปฐมวัยของสิงคโปร์
ประกอบด้วย ศูนย์ดูแลเด็กและโรงเรียนอนุบำล ซึ่งทั้ง 2 แห่ง รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า7 ปี โดยเริ่มจาก
ปีค.ศ. 1940 ได้เริ่มจัดบริกำรศูนย์ดูแลเด็กเล็กเพื่อช่วยเหลือดูแลเด็กที่มำรดำมีรำยได้น้อย ส ำหรับโรงเรียน
อนุบาลเริ่มจัดตั้งในช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1950 โดยโบสถ์และหน่วยงานเอกชน ซึ่งทั้ง 2 แห่งให้บริการ
เลี้ยงเด็ก (Nursery) ที่อำยุ 3-4 ปีชั้นเรียนอนุบาล 1 สำหรับเด็กอายุ 5 ปี และอนุบาล 2 สำหรับเด็กอายุ 6 ปี
โดยชั้นอนุบาล จะเรียนประมาณ 3-4 ชั่วโมง ส่วนการดูแลเด็กเล็กจะให้บริการครึ่งวัน เต็มวัน หรือแล้วแต่
ความต้องกำรของพ่อแม่
https://www.matichonweekly.com/
ระบบการศึกษาปฐมวัยของสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์มุ่งหวังให้เด็กอนุบาลมีความพร้อมทั้งร่างกาย อารมร์ สุนทรียภาพ สังคมและสติปัญญา มีทักษะในการคิด มีความสาสมารถทางภาษา การสื่อสาร และคณิตศาสตร์โดยเชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ต่างๆ ควรถูกบูรณาการเข้าด้วยกัน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรมุ่งพัฒนาเด็กแบบองค์รวม เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันะ์กับผู้อื่น โดยประเทศสิงคโปร์จัดการศึกษาปฐมวัยใน2 รูปแบบคือ
1.ศูนย์ดูแลเด็ก รับเด็กตั้งแต่อายุ 18 เดือนถึง 6 ปี การจัดการศึกษารูปแบบนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัว เวลาเปิดทำการของการจัดการศึกษารูปแบบนี้จะขค้นอยู่กับศูนย์ดูแลเด็กแต่ละแห่ง
2.โรงเรียนอนุบาล รับเด็กอายุตั้งแต่ 4-6 ปี การจัดการศึกษาอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการแบ่งการรับเด็กออกเป็นวันละ 2 ช่วง แต่ละช่วงจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงและเด็กต้องมาเรียน 5 วัน ต่อสัปดาห์ โดยผู้ปกครองสามารถเลือกช่วงเวลาที่จะส่งเด็กมาเรียนได้
อ้างอิง http://narumol6111200595.blogspot.com/
https://arit.dusit.ac.th/
https://www.brainkiddy.com/
https://www.parliament.go.th/